
ดื่มนมวัว เอานมมาทาผิว ทำให้ผิวพังจริงหรอ?
ในนมวัวมี วิตามินและสารอาหารที่ดีต่อร่างกายหลายอย่างเลยค่ะ และยังมีงานวิจัยพูดถึงประโยชน์ของนมวัวไว้ว่า ช่วยเรื่องมวลกระดูกและการเจริญเติบโตได้ เพราะมีแคลเซียมสูง และยังมีโปรตีนที่จำเป็นต่อ กระดูก ฟัน กล้ามเนื้อ ให้แข็งแรงด้วย
แต่ใช่ว่านมไม่มีผลข้างเคียงนะคะ หากเราบริโภคมากเกินไป ก็มีผลข้างเคียง
เรามาดูการศึกษา เกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการดื่มนมวัวที่เกิดขึ้นกับผิวพรรณของเราค่ะ
ดื่มนมแล้วทำให้เกิดสิวได้จริงไหม?
มีการศึกษา พบว่า คนที่เป็นสิวดื่มนม ชนิดไข่มันต่ำหรือพร่องมันเนยในปริมาณมากกระตุ้นให้เกิดสิวอักเสบและเป็นสิวมากขึ้นได้
ประชากรโลกกว่าครึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถบริโภคนมได้ พบได้เยอะกับฝั่งคนเอเชีย แพ้แลคโตสในนม เมื่อดื่มแล้วเกิดอาการท้องเสีย ส่งผลให้เราเสี่ยงขาดแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญที่จำเป็นต่อร่างกายและผิวพรรณเราได้ค่ะ ยังส่งผลต่อการเกิดโรคทางผิวหนังด้านอื่นๆได้อีกด้วยนะคะ เช่น โรชาเซีย
ใครที่มีปัญหาดื่มนมแล้วท้องเสียบ่อยๆ แนะนำ ลองปรับเลือกบริโภคนมชนิดอื่นๆหรืออาหารอย่างอื่นนะคะ แนะนำปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการโดยตรงนะคะ
นมทาผิวดีไหม?
– ใครที่มีภาวะแพ้นมวัว มีแนวโน้มที่จะเกิดการแพ้จากการทานมลงบนผิวได้ค่ะ เสี่ยงเกิดการอุดตันรูขุมขน ระคายเคือง และเป็นสิวได้ ในบางคนที่ผิวแพ้ง่ายและเป็นสิวอยู่แล้วก็เสี่ยงจะเกิดสิวเพิ่มได้
– น้ำนมทาหน้า ไม่ได้ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและไม่มีคุณสมบัติช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นได้ แนะนำว่าใช้ส่วนผสมที่ช่วยแก้ไขปัญหาโดยตรงดีกว่า เช่น การใช้มอยเจอร์ไรเซอร์
– หลายคนเชื่อว่า มาส์กหน้าด้วยน้ำนมแล้วหน้าใสขึ้น จากการผลัดผิวและลดหมองคล้ำดำไหม้จากแดด ตรงนี้ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเพื่อเปรียบเทียบระหว่าง การใช้นมทาหน้ากับสารผลัดผิวอื่นๆโดยตรงรวมถึง ความสามารถการใช้นมเป็นยาเพื่อลดอาการอักเสบหรือผิวไหม้จากแดดได้
ใครที่จะใช้ นมทาหน้าอาจต้องระมัดระวังค่ะ แต่เพื่อความปลอดภัย ใช้ส่วนผสมที่ช่วยแก้ไขปัญหาผิวได้ตรงจุดดีกว่านะคะ
ทั้งหมดนี้ก็คือ ข้อควรระวังจากการดื่มนมวัวและการนำมาใช้กับใบหน้าค่ะ แต่ถ้าใครไม่ได้มีผลข้างเคียงใดๆกับนมวัวเลย เน้นดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งนะคะ
– Milk intake and risk of mortality and fractures in women and men: cohort studies: Karl Michaëlsson(professor) et al., BMJ, 2014.
– Dairy Components and Risk Factors for Cardiometabolic Syndrome: Recent Evidence and Opportunities for Future Research: Beth H. Rice et al., Adv Nutr. 2011 Sep; 2(5): 396–407.
– Diet and acne: a review of the evidence: Elsa H. Spencer PhD et al., Hope Ferdowsian, MD, MPH Washington Center for Clinical Research 5100 Wisconsin Ave., Suite 400 Washington DC 20016.
– Consumption of dairy in teenagers with and without acne: Caroline L.LaRosaMD et al., American Academy of Dermatology Residents and Fellows Symposium, San Francisco, CA, March 22, 2015.