มะนาวทาผิวหน้า ผิวกาย ผิวขาวขึ้นจริงไหม?
น้ำมะนาว มีรสเปรี้ยว เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ หลายคนจึงเชื่อมั่น จึงนำมาใช้ทาผิวพรรณและคาดหวังผลในเรื่องความขาวใสได้จริงหรือไม่ และมันเหมาะกับผิวเราจริงหรอ?
ในน้ำมะนาว มีสภาพเป็นกรดสูง มีค่า pH (ค่า พีเอช คือ การวัดความป็นกรด-เบสหรือด่าง) อยู่ในช่วง 2-3 ซึ่งถือว่ามีความเป็นกรดค่อนข้างสูง ซึ่งคุณสมบัติของความเป็นกรด
pH แสดงความเป็นกรดหรือเบสของสารละลาย มีค่าพีเอช ตั้งแต่ 0 ถึง 14
-
- pH มีค่า 7 หมายความว่ามีความเป็นกลาง (natural pH)
- pH มีค่าต่ำกว่า 7 แสดงความเป็นกรด (acidic pH)
- pH มีค่าสูงกว่า 7 แสดงความเป็นเบส (alkaline pH)
ผิวหนังของเราก็มีค่า pH ตามธรรมชาติค่ะ ผิวพรรณของแต่ละคน ตามสัดส่วนต่างๆมี pH ที่แตกต่างกันด้วยนะคะ ผิวหนังของคนเราจะมีเกราะป้องป้องผิวตามธรรมชาติที่มีน้ำ Hydrolipid film ปกคลุมผิวชั้นนอก มีค่า pH อยู่ระหว่าง 4.7 และ 5.75 หรือประมาณ 5.5 (ค่า pH ของแต่ละเพศ อายุ แตกต่างกัน)
ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อค่า pH ของผิวหนัง ได้แก่:
-
- สิว
- มลพิษทางอากาศ
- ผลิตภัณฑ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
- การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โดยมีระดับความชื้นต่างกัน
- เครื่องสำอาง
- ผงซักฟอก
- สบู่
- ความมัน/ความชุ่มชื้นของผิว
- เหงื่อ
- น้ำประปา
- ผิวตากแดดมากเกินไป
- ล้างผิวบ่อยเกินไป
ทาผิวด้วยน้ำมะนาวทำให้ขาวขึ้นจริงไหม?
ผลัดเซลล์ผิวด้วยน้ำมะนาว ที่หลายคนทำแล้ว ดูเหมือนขาวหรือสว่างขึ้นนั้น เพราะกรดจากมะนาวไปกัดผิวบริเวณเซลล์ผิวที่ตายแล้วหลุดออกไป จึงทำให้เห็นความสว่างของผิวหลังจากที่เราล้างออก เพราะเหตุนี้เองหลายคนจึงนำมาใช้ขัดผิวกันอย่างแพร่หลาย
แต่ด้วยความเป็นกรดสูง มีค่า pH ประมาณ 2-3 จึงส่งผลต่อเกราะป้องกันผิว (Skin Barrier) ให้อ่อนแอลง เพราะเหตุนี้เอง จึงทำให้ผิวไวต่อแดด และเกิดระคายเคือง ผดผื่นแดง คัน ผิวแห้งลอกเป็นขุย หรือ เกิดอาการผิวไหม้ ซึ่งไม่เป็นผลดีเลยค่ะ
น้ำมะนาวทาผิวดีไหม?
หากเราคาดหวังผลในด้านผลัดเซลล์ผิว การใช้น้ำมะนาวทาลงบนผิวหนังจึงมีความเสี่ยงสูง และไม่ได้ผลที่ดีระยะยาว
วิธีทำให้ผิวกระจ่างใส แนะนำใช้โลชั่นหรือครีมที่มีส่วนผสมของไวท์เทนนิ่งและทากันแดดเป็นประจำทุกวัน หลีกเลี่ยงการใช้กรดและสารเคมีรุนแรง เพียงเท่านี้ผิวเราก็สามารถกระจ่างใสและสุขภาพดี อย่างปลอดภัยได้ค่ะ
- pH Values of Common Foods and Ingredients, https://www.clemson.edu/extension/food/food2market/documents/ph_of_common_foods.pdf
- Anon. 1962. pH values of food products. Food Eng. 34(3): 98-99.
- Bridges, M. A., and Mattice, M.R. 1939. Over two thousand estimations of the pH of representative foods, American J. Digestive Diseases, 9:440-449.
- Warren L. Landry , et al. 1995. Examination of canned foods. FDA BAM, AOAC International.
- Grahn M.A. 1984. Acidified and low acid foods from Southeast Asia. FDA-LIB
- Ali SB, et al. (2013). Skin pH: From basic science to basic skin care. DOI:10.2340/00015555-1531
- Blaak J, et al. (2018). The relation of pH and skin cleansing. DOI:10.1159/000489527
- Farage MA, et al. (2018). Intrinsic and extrinsic factors affecting skin surface pH. DOI:10.1159/000489516
- Lambers H, et al. (2006). Natural skin surface pH is on average below 5, which is beneficial for its residential flora. DOI:10.1111/j.1467-2494.2006.00344.x
- pH scale: Introduction and definitions. (2003).chemistry.elmhurst.edu/vchembook/184ph.html
- Stenzaly-Achtert S, et al. (2000). Axillary pH and influence of deodorants.
ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11428948 - KRISTINA L. PENNISTON et al., Assessment of Citric Acid in Lemon Juice, Lime Juice, and Commercially-Available Fruit Juice Products, J Endourol. 2008 Mar; 22(3): 567–570.doi: 10.1089/end.2007.0304