เจาะลึก “น้ำมันมะพร้าว” ใช้กับใบหน้า ดีหรือไม่
คนเป็นสิวใช้ได้ไหม?
ในทางวิทยาศาสตร์ได้นำน้ำมันมะพร้าวไปวัดระดับค่าการอุดตันผิวหนัง COMEDOGENIC SCALE เพื่อค้นหาคำตอบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าวจะส่งผลให้เกิดการอุดตันรูขุมขนหรือไม่? เพราะไม่ใช่ทุกคนจะเหมาะกับน้ำมันมะพร้าว
Comedongenic Ratings (ค่าอุดตันผิวหนัง)
มาตราส่วนใช้ ตัวเลข 0 ถึง 5 ในการกำหนดระดับค่าอุดตันผิว
-
- 0 – ไม่อุดตันรูขุมขนเลย
- 1 – มีโอกาสน้อยมากที่จะอุดตันรูขุมขน
- 2 – โอกาสต่ำปานกลาง
- 3 – ความเป็นไปได้ปานกลาง
- 4 – โอกาสค่อนข้างสูง
- 5 – มีโอกาสสูงที่จะอุดตันรูขุมขน
รายชื่อส่วนผสมนี้ได้รวบรวมจากแหล่งต่างๆ รวมถึง Journal of American Academy of Dermatology
จากตารางด้านบนนี้ น้ำมันมะพร้าว Coconut Oil มีค่าอุดตันผิวหนัง อยู่ที่ระดับ 4 ซึ่งหมายถึง มีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะก่อการอุดตันรูขุมขน ส่งผลให้เกิดสิวอุดตัน สิวหัวดำ สิวหัวขาวได้
น้ำมันมะพร้าวรักษาสิวได้หรือไม่?
มีเรื่องที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ ในน้ำมันมะพร้าวมีส่วนประกอบ ที่อาจนำมาใช้รักษาสิวได้ คือ Lauric Acid (กรดลอริก)
กรดลอริกสามารถช่วยรักษาสิวได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวได้ นั่นก็คือ เชื้อPropionibacterium acnes ( P. acnes ) จึงมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดสิวได้ แต่เป็นเพียงการทดสอบกับสัตว์ (หนู) ในห้องทดลองเท่านั้นค่ะ
ผลของการใช้กรดลอริกใต้ผิวหนังต่อการเจริญเติบโตของP. Acnes
ในร่างกายและการอักเสบที่เกิดจากP. Acnes
จากผลทดสอบนี้ จะเห็นว่า กรดลอริก มีผลต่อการกำจัดเชื้อ P.acne แต่น้ำมันมะพร้าวไม่สามารถซึมผ่านชั้นผิวหนังเรา จึงสะสมในชั้นบนสุดของผิวได้ค่ะ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่มีผิวมันอยู่แล้วหรือเป็นสิวได้ง่าย เมื่อมีการผสมของแบคทีเรีย สิ่งสกปรก และเซลล์ผิวที่ตาย เข้าไปอยู่ในรูขุมขนของเรา ก็ส่งผลให้เกิดการสะสมอุดตัน กระตุ้นการเกิดสิวอุดตันได้นั่นเองค่ะ
Craig Austin, MD. แพทย์ผิวหนัง ให้ความเห็นว่า “เมื่อคุณใช้น้ำมันมะพร้าว คุณกำลังใช้น้ำมันกับผิวของคุณร่วมกับแบคทีเรียและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว—โดยพื้นฐานแล้วน้ำมันมีผลต่อการเกิด ‘การอุดตัน’ รูขุมขน ซึ่งน้ำมันมะพร้าวเป็นหนึ่งในน้ำมันที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ ยิ่งเป็นการยากที่ผิวของคุณดูดซึมได้ทั้งหมด, ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้วมันจึงเกาะอยู่บนผิวหนังชั้นหนังแท้และก่อตัวเป็นฟิล์มบนรูขุมขน แบคทีเรียและเซลล์ผิวที่ตายแล้วจะสะสมอยู่ใต้ผิวหนังและทำให้ร่างกายของคุณผลิตไขมันส่วนเกิน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดสิวได้”
ยังกล่าวอีกว่า เมื่อพูดถึงน้ำมันมะพร้าว ผิวบางประเภทก็มีบทบาทสำคัญ “ผิวของแต่ละคนสามารถตอบสนองได้แตกต่างกัน แต่ฉันไม่เคยแนะนำน้ำมันมะพร้าวให้กับผู้ป่วยที่เป็นสิวของฉัน” ออสตินกล่าว “แต่ถ้าคุณไม่ต่อสู้กับสิวอย่างต่อเนื่อง ผิวของคุณอาจไม่ไวต่อมัน และอาจมีผลให้ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์”
น้ำมันมะพร้าวให้ความชุ่มชื้นผิว
Oleic Acid ถูกพบในน้ำมันมะพร้าว ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความชุ่มชื้นผิวได้จะเหมาะสำหรับผิวแห้ง น้ำมันที่มีกรดโอเลอิกสูงสามารถช่วยให้ผิวแห้งและแพ้ง่าย ลดการระคายเคืองของผิวได้
จากความเห็นของ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ Sarah Villafranco, MD. ได้ระบุว่า “อะไรก็ตามที่ให้ความชุ่มชื้นต้องมีส่วนประกอบของน้ำ นั่นคือส่วนของ ‘hydr’ อย่างเช่น โลชั่น จะมีสัดส่วนของ น้ำ 70 เปอร์เซ็นต์ จึงให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวได้ แต่น้ำมันทำแบบนั้นไม่ได้”
ดังนั้น กลไกของน้ำมันมะพร้าวคือ สัดส่วนของน้ำมันจะเคลือบอยู่บนชั้นผิวหนัง ไม่ได้แทรกซึมผ่านลงไปในชั้นผิว จึงช่วยให้ความชุ่มชื้นผิวชั่วคราว(หลังทาลงบนผิวเท่านั้น) ซึ่งไม่ใช่การให้ความชุ่มชื้นผิวระยะยาวแบบสาร hyaluronic acid หรือ glycerin ที่มีคุณสมบัติให้ความชุ่มชื้นกับผิวได้ดีกว่า นั่นเองค่ะ
น้ำมันมะพร้าวใช้กับผิวหน้าดีหรือไม่?
นำ้มันมะพร้าว เหมาะกับผู้ที่มีสภาพผิวแห้ง และไม่มีปัญหาสิวเรื้อรัง ช่วยให้อาการหยาบกร้านของผิวดีขึ้น ผิวชุ่มชื้น ป้องกันผิวแห้งระหว่างวันได้ จึงใช้ได้ไม่ต้องกังวลเลยค่ะ
น้ำมันมะพร้าว มีค่าการอุดตันผิวค่อนข้างสูง คือ Comedongenic Scale อยู่ที่ระดับ 4 จึงไม่เหมาะกับสภาพผิวมัน ผิวเป็นสิวง่าย หรือผู้มีปัญหาสิวอยู่ เนื่องจากอาจทำให้เกิดปัญหาสิวซ้ำๆ ได้ แม้ว่าส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าวจะช่วยลดเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบได้ แต่ยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่ทำได้ดีกว่า และมีค่าอุดตันผิวหนังที่อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยกว่าน้ำมันมะพร้าวอีกมากมายเลยค่ะ
-
Teruaki Nakatsuji et al., Antimicrobial Property of Lauric Acid Against Propionibacterium acnes: Its Therapeutic Potential for Inflammatory Acne Vulgaris, J Invest Dermatol,J Invest Dermatol, 2009 Oct, 129(10): 2480–2488. doi: 10.1038/jid.2009.93
-
Alexandra Engler (mbg Beauty Director),Keira Barr, M.D., Coconut Oil Be Clogging Your Pores?. Site: mindbodygreen.com
-
Oils 101 Non-comedogenic vs. Comedogenic oils and Fractionated vs. Virgin Coconut oil, Site: Bellanina101.wordpress.com
-
UNDERSTANDING THE COMEDOGENIC SCALE FOR OILS AND BUTTERS, Site: herbaldynamicsbeauty.com
- MAYA ALLEN, reviewed by MORGAN RABACH, MD.,
Coconut Oil Clog Pores? We Asked a Dermatologist, Site: byrdie.com