Vitamin C กินวิตามินซี ประโยชน์และผลข้างเคียง
Vitamin C
วิตามินซี หรือที่รู้จักกันในชื่อ กรดแอล-แอสคอร์บิกหรือกรดแอสคอร์บิก เป็นสารที่สามารถละลายกับน้ำได้ดี ยังเป็นวิตามินที่จำเป็นและมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายของเราเลยค่ะ และเป็นวิตามินที่ร่างกายของเราไม่สามารถผลิตหรือสังเคราะห์วิตามินซีได้เอง ดังนั้น เราจำเป็นจะต้องบริโภคเข้าไปเพื่อสุขภาพที่ดีนะคะ
วิตามินซีสามารถพบได้ในอาหารจากพืชหลากหลายชนิด เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว พริกหยวก สตรอเบอร์รี่ และบร็อคโคลี่ ถ้าเมืองไทยบ้านเราถือว่าได้เปรียบในเรื่องวิตามินซีกว่าหลายประเทศเลยค่ะ เพราะเป็นแหล่งพื้นที่ที่สามารถปลูก พืชผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีได้ เช่น มะม่วง ฝรั่ง มะเฟือง ส้มจี๊ด ส้ม คะน้า มะนาว ฯลฯ หรืออะไรก็ตามที่รสเปรี้ยว นั่นคือแหล่งรวมวิตามินซีที่ดีเลยค่ะ
Vitamin C อ่อนไหวง่าย
สิ่งสำคัญคือต้องรู้ก่อนเลยนะคะ คือ วิตามินซีเสื่อมหรือถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนแต่เนื่องจากแหล่งอาหารที่ดีมากมาย ได้แก่ ผลไม้และผัก การรับประทานอาหารสดบางชนิดจึงเป็นวิธีที่ง่ายในการเข้าถึงปริมาณที่แนะนำได้ค่ะ
วิตามินซีในอาหารเสริมเองก็เช่นกันค่ะ จะเสื่อมง่ายหากโดนความร้อน หรือสัมผัสกับแสงแดด เราจึงเห็นว่า พวกวิตามินซี ไม่ว่าจะแบบเม็ด แคปซูล เม็ดฟู่ ผงกรอกปาก ฯลฯ จะถูกบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ทึบแสง เช่น กระปุกสีชา กระปุกพลาสติกที่หนา เป็นต้น
ดังนั้น ควรจัดเก็บวิตามินซีให้ห่างจากความร้อนและแสงแดดด้วยนะคะ
ประโยชน์ของวิตามินซี
- ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
- กระตุ้นกระบวนการสร้างคอลลาเจน
- ช่วยกระบวนการสมานแผล
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกอนุมูลอิสระทำร้าย
- ปกป้องเซลล์ผิวจากการถูกแสงแดดทำร้าย
- ช่วยเสริมการดูดซึมธาตุเหล็ก
- ป้องกันหวัดได้
- ป้องกันเลือดออกตามไรฟันได้
- ช่วยเสริมให้ เซลล์ในร่างกาย รวมถึง ผม ผิว เล็บ แข็งแรง
หากขาดวิตามินซีหรือได้รับไม่เพียงพอ
-
- การได้รับวิตามินซีไม่เพียงพออาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้ เช่น ผิวแห้ง ปวดข้อ เหงือกมีเลือดออกตามไรฟัน และการรักษาบาดแผลไม่ดีหรือฟื้นฟูช้า
- การสูบบุหรี่ ทำให้ระดับวิตามินซีในร่างกายลดลง
มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้สูบบุหรี่มีระดับวิตามินซีในพลาสมาและเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ อันเนื่องมาจากความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ IOM จึงสรุปว่าผู้สูบบุหรี่ต้องการวิตามินซี 35 มก. ต่อวันมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่
หรือ แม้แต่ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้สูบบุหรี่โดยตรง ก็ยังถูกลดระดับวิตามินซีได้อีกด้วยนะคะ - การรับประทานอาหารที่ไม่มีความหลากหลาย หรือคนที่ควบคุมอาหารมากเกินไปจนลืมคำนวณเรื่องวิตามินซี อาจมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินซีมากขึ้นค่ะ
แม้ว่าผักและผลไม้จะเป็นแหล่งวิตามินซีที่ดีที่สุด แต่อาหารอื่นๆ ก็มีสารอาหารนี้ในปริมาณเล็กน้อย ดังนั้น การรับประทานอาหารที่หลากหลาย หรือปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมนะคะ
ในปัจจุบัน เรายังพบว่า การใช้ชีวิตประจำวันมีผลทำให้ร่างกายได้รับความเสี่ยงในการสูญเสียวิตามินซี หรือ ได้รับไม่เพียงพอ เช่น การนอนไม่เพียงพอ การอดอาหาร การได้รับสารพิษสารเคมี ควันพิษ มลพิษในอากาศ เป็นต้น
วิตามินซีแบบอาหารเสริม
1.จะต้องพิจารณาถึงคุณภาพ ปริมาณ และราคา และอาจจะต้องคำนึงถึงรูปแบบของอาหารเสริมที่เราเลือกด้วยค่ะ เช่น แบบเม็ด แบบแคปซูล แบบเคี้ยว ผง เม็ดฟู่ เป็นต้น
2.แบรนด์มีชื่อเสียง น่าเชื่อถือ มีกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
3.ควรดูรายชื่อส่วนผสมและเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารปรุงแต่งหรือสารกันบูด และควรระวัง! วิตามินซีรูปแบบอาหารเสริมที่มีรสหวาน เพราะปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากมาย อาจมีส่วนผสมของน้ำตาลเพิ่มเข้ามาด้วยค่ะ
4.บรรจุภัณฑ์ที่ทึบแสง สะอาด ปลอดภัย มีมาตรฐาน
วิตามินซีจากแหล่งอาหาร
วิตามินซีสามารถพบได้ตาม พืชผักและผลไม้รสเปรี้ยวได้ค่ะ เช่น มะม่วง ฝรั่ง มะเฟือง ส้มจี๊ด ส้ม คะน้า มะนาว มะเขือเทศ กีวี่ เกรพฟรุต แคนตาลูป แต่ต้องระวังด้วยนะคะ วิตามินซีถูกทำลายได้ง่ายเมื่อสัมผัสความร้อน ดังนั้น เลือกวิตามินซีที่สามารถกินแบบสดๆได้ จะช่วยให้เราได้รับวิตามินซีได้มากขึ้นค่ะ
อาหาร | มิลลิกรัม (มก.) ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค | เปอร์เซ็นต์ (%) DV* |
---|---|---|
น้ำส้ม ¾ ถ้วย | 93 | 103 |
ส้ม 1 ตัว | 70 | 78 |
น้ำเกรพฟรุต ¾ ถ้วย | 70 | 78 |
กีวี 1 ลูก | 64 | 71 |
บรอกโคลีสุก ½ ถ้วย | 51 | 57 |
สตรอว์เบอร์รีสด สไลซ์ ½ ถ้วย | 49 | 54 |
เกรปฟรุ้ต ½ กลาง | 39 | 43 |
บรอกโคลีดิบ ½ ถ้วย | 39 | 43 |
น้ำมะเขือเทศ ¾ ถ้วย | 33 | 37 |
แคนตาลูป ½ ถ้วย | 29 | 32 |
กะหล่ำปลีสุก ½ ถ้วย | 28 | 31 |
มะเขือเทศดิบ 1 ลูก | 17 | 19 |
*DV = มูลค่ารายวัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้พัฒนา DVs เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารของอาหารและอาหารเสริมภายในบริบทของอาหารทั้งหมด DV สำหรับวิตามินซีคือ 90 มก. สำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไป องค์การอาหารและยาไม่ต้องการฉลากอาหารเพื่อแสดงเนื้อหาวิตามินซีเว้นแต่จะมีการเติมวิตามินซีลงในอาหาร อาหารที่มี DV 20% หรือมากกว่านั้นถือเป็นแหล่งสารอาหารสูง แต่อาหารที่มีเปอร์เซ็นต์ DV ต่ำกว่าก็มีส่วนช่วยในการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
วิตามินซี ที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน
อาหารเสริมมักจะมีวิตามินซีในรูปของกรดแอสคอร์บิก ซึ่งมีการดูดซึมเทียบเท่ากับกรดแอสคอร์บิกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในอาหาร เช่น น้ำส้มและบร็อคโคลี่ อาหารเสริมวิตามินซีรูปแบบอื่น ได้แก่ โซเดียมแอสคอร์เบต แคลเซียมแอสคอร์เบต แอสคอร์เบตแร่ธาตุอื่น ๆ กรดแอสคอร์บิกกับไบโอฟลาโวนอยด์ และผลิตภัณฑ์ผสม
ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำต่อวัน (RDA) คือปริมาณวิตามินโดยประมาณที่คนส่วนใหญ่ต้องการในแต่ละวัน ซึ่งในบางคนอาจมีความต้องการวิตามินซีที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายบริบท เช่น การกินอาหารที่มีความหลากหลายของโภชนาการ การใช้ชีวิตประจำวัน ก็ได้รับปริมาณวิตามินซีน้อยกว่าผู้ที่กินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เป็นต้น
ในตารางยังแสดงปริมาณที่ร่างกายสามารถได้รับวิตามินซีสูงสุด ซึ่งเป็นระดับการบริโภคที่ปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่
*สำหรับเด็กทารกแนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนให้รับประทานวิตามินซี
แนะนำต่อวัน (มก./วัน) | สูงสุด (มก./วัน) | ||
ทารก | 0–6 เดือน | 40* | ควรปรึกษาแพทย์ |
7–12 เดือน | 50* | ควรปรึกษาแพทย์ | |
เด็ก | 1–3 ปี | 15 | 400 |
4–8 ปี | 25 | 650 | |
9–13 ปี | 45 | 1,200 | |
วัยรุ่น (หญิง) | 14–18 ปี | 65 | 1,800 |
วัยรุ่น (ชาย) | 14–18 ปี | 75 | 1,800 |
หญิง | อายุ 19 ปีขึ้นไป | 75 | 2,000 |
ชาย | อายุ 19 ปีขึ้นไป | 90 | 2,000 |
หญิงตั้งครรภ์ | 80–85 | 1,800–2,000 | |
ให้นมบุตร | 115–120 | 1,800–2,000 |
**ข้อมูลในตารางนี้ เป็นปริมาณที่คนส่วนใหญ่สามารถรับได้ในแต่ละวัน หากมีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนนะคะ
ผลข้างเคียง
วิตามินซีทำละลายในน้ำได้ดี ดังนั้น หากเราบริโภคมากเกินไป ร่างกายจะขับออกทางปัสสาวะ แต่ไม่ว่าอะไรก็ตาม ย่อมมีความเสี่ยง ถึงแม้ว่าวิตามินซีนั้นจะดีและสำคัญต่อร่างกายก็ตาม แต่ขึ้นชื่อว่า “ดี” ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผลเสียต่อร่างกายหากได้รับปริมาณที่มากเกินไปค่ะ
อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้เมื่อได้รับวิตามินซีในทางเดินอาหาร ได้แก่ ตะคริว คลื่นไส้ และท้องร่วง ซึ่งส่วนใหญ่เราพบกับผู้บริโภควิตามินซีมากกว่า 2000 มก. แต่ในบางคนก็อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ก่อนรับประทานวิตามินซีควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนนะคะ
ในบางกรณีอาจเกิดภาวะ ออกซาเลตจับกับแร่ธาตุและก่อตัวเป็นผลึกที่สามารถนำไปสู่ความเสี่ยงการก่อตัวของนิ่วในไตได้ มีการศึกษาหนึ่งที่ทดสอบกับผู้ใหญ่โดยให้เสริมวิตามินซี 1,000 มก. วันละสองครั้งเป็นเวลา 6 วัน ปริมาณออกซาเลตที่ขับออกมาเพิ่มขึ้น 20%
เนื่องจากวิตามินซีสามารถละลายน้ำได้ดี และร่างกายของเราก็จะขับส่วนเกิน(หรือดูดซึมได้ไม่หมด) ออกมาทางปัสสาวะหลังจากที่เราบริโภคเข้าไปไม่กี่ชั่วโมง คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ คือ ให้บริโภค ครั้งละ 500 มก. อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน หรือ ตามคำแนะนำของแพทย์ ในคนที่มีปริมาณวิตามินซีในร่างกายต่ำ
ข้อควรระวัง!
การรับประทานวิตามินซีควรปรึกษาแพทย์และเภสัชก่อนทุกครั้ง หากมีปัญหาสุขภาพต้องระมัดระวังมากๆนะคะ
- NIH., Vitamin C Fact Sheet for Health Professionals
- Institute of Medicine. Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes for Vitamin C, Vitamin E, Selenium, and Carotenoidsexternal link disclaimer. Washington, DC: National Academy Press, 2000.
- National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine. 2000. Dietary Reference Intakes for Vitamin C, Vitamin E, Selenium, and Carotenoids. Washington, DC: The National Academies Press. https://doi.org/10.17226/9810.
- Cochrane Database Syst Rev. 2015., Vitamin C supplementation in pregnancy. doi: 10.1002/14651858.CD004072.pub3.
- Jacob RA, Sotoudeh G. Vitamin C function and status in chronic disease. Nutr Clin Care 2002;5:66-74.
- Vitamin C in Disease Prevention and Cure: An Overview .Indian J Clin Biochem. 2013 Oct; 28(4): 314–328. doi: 10.1007/s12291-013-0375-3